เครื่องแต่งกายประเทศไทย

ที่มาของรูปภาพ
http://www.weloveshopping.com/shop/client/000038/tj-james/webboard/q579716375289.jpg

การแต่งกายของไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ
           การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ
 
นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร"
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ
 
 

สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๑๙๔)
           เมื่อชนชาติไทยอพยพเคลื่อนที่ลงมาสู่แหลมอินโดจีนโดยลำดับ จนได้ตั้งอาณาจักรไทยน่านเจ้าขึ้นเป็นอาณาจักรไทยแห่งหนึ่งที่หนองแสตาลีฟู หญิงไทยคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีทางการแต่งกายของตนไว้ ไม่ใช้ฝุ่นผัดหน้าหรือเขียนคิ้ว ใช้น้ำกลั่นจากต้นหม่อนทาผม หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง
 
 

ข้อมูลที่มารูปภาพ
 
 
ข้อมูลที่มารูปภาพ
 
 
 
 
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม"
                 โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ
จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"     
สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทย
                 ที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า
 
มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด
                ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง
                
ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรง
                ของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้
 
ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

       1. ชุดไทยเรือนต้น
       2. ชุดไทย
       3. ชุดไทยอมรินทร์       4. ชุดไทยบรมพิมาน       5. ชุดไทยจักรี
       6. ชุดไทยจักรพรรดิ
       7. ชุดไทยดุสิต
       8. ชุดไทยศิวาลัย

ที่ีมาของข้อมูล
 
เรื่องของการแต่งกายของคนไทยในสมัยโบราณ ไม่มีจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นหลักฐาน การเขียนประวัติการแต่งกายตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงขาดหลักฐานที่ชัดเจน ได้แต่สันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ทำเป็นรูปเทวดาและมนุษย์ในสมัยนั้นๆ แล้วคาดว่า การแต่งกายของคนไทยในสมัยดังกล่าวคงจะเป็นเช่นนั้น

หนังสือสมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ของกรมศิลปากร ได้สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวสุโขทัยไว้ดังต่อไปนี้

"การแต่งกายสตรี ส่วนมากนิยมนุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง รัดกลีบซับซ้อนมากชั้น มีเข็มขัดขนาดใหญ่คาดทับ ประดับด้วยลวดลายละเอียดมาก ทั้งชายผ้าเป็นกาบขนาดใหญ่ ตรงด้านหน้าหรือยักเยื้องไปทางด้านข้าง บุคคลธรรมดาทั้งชายและหญิงมักนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน หวีผมแสกยาวประบ่า มีผ้ารัดต้นคอ ผู้หญิงธรรมดามีผ้าแถบคาดอก ใส่กำไลข้อมือ รัดแขน และกำไรข้อเท้า กรองคอทำเป็นลายหยักโดยรอบ
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย การนุ่งผ้าเท่าที่ปรากฏหลักฐานในตุ๊กตาสังคโลก และภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย มักนิยมมีชายพกด้านหน้า ยาวใหญ่ออกมามาก ทรงผมผู้ชายเกล้าสูงเป็นมวยอยู่เหนือศีรษะ มีเครื่องประดับต่างๆ"
ไม่มีผู้ใดได้บันทึกเอกสารที่กล่าวถึงการแต่งกายสมัยสุโขทัยไว้ จึงจำต้องสันนิษฐานจากรูปปั้น รูปจารึกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งอาจไม่ตรงตามความจริงทั้งหมดก็ได้ ส่วนในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเอกสารทั้งของไทย และของต่างประเทศบันทึกไว้หลายแห่ง และมีจิตรกรรมเขียนไว้มาก ทำให้หลักฐานเรื่องการแต่งกายสมัยอยุธยาค่อนข้างจะสมบูรณ์

ตามจดหมายเหตุของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง กล่าวถึงขุนนางไทยว่า
"นุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่สะเอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น"
ในจดหมายเหตุของโยส เซาเต็น พ่อค้า ชาวฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าประสาททอง กล่าวถึงการแต่งกายละเอียดกว่าของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง คือกล่าวว่า "ทั้งหญิงชายแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนน้อยชิ้น เพราะประเทศนี้ เป็นประเทศร้อน เขาชอบผ้าสีต่างๆ นุ่งสำหรับส่วนล่างของร่างกาย ส่วนบนนั้นชายใส่เสื้อชั้นใน แขนครึ่งท่อน ส่วนหญิงนั้นมีผ้าบางๆ พาดไหล่ หรือปิดหน้าอก บนศีรษะมักจะมีปิ่นทองปักผมไว้ และสวมแหวนทองที่นิ้วมือ การแต่งกายเช่นนี้ แต่งด้วยกันทั้งคนจนคนมี จึงยากที่จะดูว่า ใครรวย ใครจน นอกจากจะรู้ราคาชนิดผ้าที่นุ่งห่มนั้น"


ที่มาของข้อมูล
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=18&chap=3&page=t18-3-l1.htm


 
 
 
 
ที่มาของข้อมูล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

No comments:

Post a Comment